บทสรุปจากหนังสือ3เล่ม


ความเป็นมาของเรื่องราว

ประเทศไทย เป็นประเทศที่ตั้งในเขตร้อน ส่งผลให้ดอกไม่ท้องถิ่นในประเทศไทยออกดอกคราวละมากๆ แต่ลักษณะดอกเป็นขนาดเล็ก เช่น ดอกรัก ดอกมะลิ ดอกบ้านไม่รู้โรย เป็นต้น ซึ่งดอกไม้ที่กล่าวมานี้นั้นยากแก่การใส่ภาชนะสวยๆอย่างแจกันเหมือนดอกไม้เมืองหนาวยาก ดังนั้นบรรพบุรุษไทยจึงคิดค้นวิธีประดิษฐ์ดอกไม้ขนาดเล็กให้มีประณีตและความสวยงาม มาลัยจึงเป็นศิลปะที่นำดอกไม้ กลีบดอกไม้ ใบไม้มาเรียงร้อยจนเป็นแบบต่างๆ จนกลายเป็นมรดกล้ำค่าของไทย ผู้ที่ร้อยพวงมาลัยได้จะต้องมีความละเอียดอ่อน นุ่มนวล และต้องมีสมาธิที่ดี




การกำเนิดพวงมาลัยไม่มีเอกสารใดระบุแน่ชัดว่าเกิดขึ้นสมัยใด แต่จากการสืบค้นน่าจะเกิดขึ้นในสมัยพระร่วง พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัย โดยพระสนมเอกของพระร่วงหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ที่มีฝีมือการประดิษฐ์ดอกไม้ดีเลิศ แต่มิได้กล่าวว่าท่าไปร่ำเรียนการร้อยพวงมาลัยจากที่ใดมา จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่5 สมเด็จพระศรีพัชอินทาบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง ทรงโปรดการร้อยพวงมาลัยดอกไม้ชนิดต่างๆ เกิดลวดลายสวยงามมากมายและนำไปใช้ประกอบพิธีใหญ่ๆจนสืบตลอดนับแต่นั้นเรื่อยมา




รูปแบบและชนิดของดอกไม้จะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยหรืองานพิธีกรรมต่างๆที่จัด เช่น พิธีมงคลสมรส ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู งานศพล้วนจะมีพวงมาลัยประกอบในงานพิธทั้งสิ้น



อ้างอิง
การจัดดอกมะลิ : บทนำ
สุพัสดา ศรีอุดร/สมัย ศรีอุดร

เอกลักษณ์ไทยมาลัยดอกไม้สด : ประวัติและความเป็นมาของมาลัย(หน้าที่6)
อาจารย์วันเพ็ญ พงษ์เก่า

การจัดดอกไม้ : คำนำ
ปราณชนก แดงเป้า


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์พวงมาลัยร้อยเรื่องเล่า ได้อนุญาตให้ใช้ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น